เชื่อได้เลยว่าหากกล่าวถึงคำว่า Hospice หลายๆ คนคงไม่ได้เคยได้ยินมาก่อน ซึ่งคำว่า ฮอสพิซ นั้นก็อาจเรียกโดยรวมๆ ว่าการดูแลผู้ป่วยให้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ ซึ่ง Hospice ไม่ได้มีมาในยุคนี้สมัยนี้เท่านั้น หากแต่ว่ามีมาเป็นเวลานาน อาจจะกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยโลกยุคโบราณเลยก็ว่าได้ ซึ่งมาทำความรู้จักกับ Hospice ไปพร้อมๆ กันเลย 

ต้นกำเนิดของฮอสพิซ 

สำหรับต้นกำเนิดของฮอสพิซนี้มีมาตั้งแต่สมัยยุคยุโรปโบราณ โดยแต่ก่อน เวลาที่คนในยุคนั้นป่วย ก็จะมีการพาไปยังสถานพักฟื้น ซึ่งมักจะเป็นชนบทที่มีอากาศเย็นสบายเป็นหลัก และผู้ป่วยก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้ากว่าเดิม มีการคิดค้นทั้งยา และเทคโนโลยีนวัตกรรมการรักษา อันจะเป็นการยื้อชีวิตผู้ป่วยให้ยาวกว่าเดิม โดยลืมมองบริบทที่ว่า การยืดชีวิตให้ยาวออกไป แท้ที่จริงแล้วเป็นการยื้อเพียงลมหายใจ และยื้อผู้ป่วยด้วยความหวังหรือไม่ การให้ผู้ป่วยได้เข้าใจโรคภัยที่ตนเองมี และสถานการณ์ของโรคและชีวิตของตนเอง อาจจะดีกว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนที่ยังอยู่ 

การมาถึงของฮอสพิซในปัจจุบัน 

สำหรับการรักษาแบบฮอสพิซ หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่าการดูแลประคับประคอง เพิ่งเริ่มได้รับความนิยมมาเมื่อไม่นานนี้ โดยแนวคิดบางส่วนมาจากแพทย์ผู้รักษาที่ไม่เห็นด้วยกับการให้ยาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งหรือโรคใดๆ ก็ตาม จนกว่าผู้ป่วยจะสุดยื้อ ทั้งที่ยาเหล่านี้(บางตัว) ก็ได้สร้างผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย หรืออาจทำให้ระบบภายในแย่ลงไปได้นั่นเอง นำมาซึ่งการเสียชีวิตอย่างไม่ทันตั้งตัว ไม่ได้แม้แต่จะสั่งเสียคนที่ยังอยู่  

การดูแลแบบฮอสพิซ จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับกับสุขภาพของตนเองอย่างกล้าหาญ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การทำการฉีดมอร์ฟีนให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ไม่นิยมฉีดกันนัก เพราะเกรงว่าจะเกิดการเสพติด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องทนรับความเจ็บป่วย จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต จะดีกว่าหรือไม่ หากคิดในมุมกลับว่า ด้วยอาการของโรค ผู้ป่วยไม่สามารถมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านี้ได้แล้ว หากจะจ่ายมอร์ฟีนให้ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการเสพติดอย่างแน่นอน 

อย่างไรก็ดี การรักษาดูแลแบบฮอสพิซ อาจเป็นการทำใจได้ยาก สำหรับญาติ เพราะนั่นคือการยอมรับว่าผู้ป่วยไม่มีหวังในการมีชีวิตอยู่ต่อแล้ว แต่ญาติเองก็ต้องมองมุมกลับด้วยเช่นกันว่า การยื้อชีวิตเป็นการยื้อความสบายใจของญาติ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องทนแบกรับความเจ็บปวดของร่างกาย การยื้อชีวิตคือสิ่งที่เป็นประโยชน์แท้จริงหรือเปล่า

Tags:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *